เมนู

ปัญหาวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[1084] 1. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[1085] 2. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวาจยคามินาปจย-
คามิธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[1086] 3. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม และ
เนวาจยคามิยนาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของปัจจัย.

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอาจคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
[1087] 4. อปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อปจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย
มี 3 วาระ (วาระที่ 4 5 6)

[1088] 7. เนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่เนวา-
จยคามินาปจยคามิธรรม ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย

เหตุทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ เหตุทั้งหลายที่เป็นเนวาจยคามินาปจยคามิธรรม เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุปัจจัย.

2. อารัมมณปัจจัย


[1089] 1. อาจยคามิธรรม เป็นปัจจัยแก่อาจยคามิธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล การทำอุโบสถกรรมแล้ว ย่อมพิจารณา
กุศลกรรมนั้น.
บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน.
บุคคลออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน.
พระเสกขบุคคลทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว, พิจารณากิเลสที่ข่ม
แล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน.
พระเสกขบุคคล หรือ ปุถุชน พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อาจยคานิธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, ย่อมยินดี
ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ
วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.